เมนู

เว้นจากโทษที่ทำให้คด. บทว่า อุชุํ ได้แก่ ชื่อว่าตรง เพราะไม่คด คำนี้
เป็นคำแสดงความของบทต้น . บทว่า วิปุลวิตฺถตํ ได้แก่ ชื่อว่าหนาและ
กว้าง เพราะยาวและกว้าง ความที่สติปัฏฐานหนาและกว้าง พึงเห็นได้โดย
สติปัฏฐานที่เป็นโลกิยและโลกุตระ. บทว่า มหาวีถึ ได้แก่ หนทางใหญ่.
บทว่า สติปฏฺฐานวรุตฺตมํ ความว่า สติปัฏฐานนั้นด้วย สูงสุดในธรรม
อันประเสริฐด้วย เหตุนั้น จึงชื่อว่า สติปัฏฐานสูงสุดในธรรมอันประเสริฐ.
อีกนัยหนึ่ง ถนนสูงสุด ที่สำเร็จด้วยสติปัฏฐานอันประเสริฐ.
บัดนี้ ทรงปูแผ่รัตนะมีค่ามากเหล่านั้น คือ สามัญผล 4 ปฏิสัมภิทา 4
อภิญญา 6 สมาบัติ 8 ลงบนตลาดธรรมทั้งสองข้าง ณ ถนนสติปัฏฐานนั้น
แห่งนิพพานมหานครนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระองค์ทรงปูแผ่สามัญผล 4 ปฏิสัมภิทา 4
อภิญญา 6 สมาบัติ 8 ณ ถนนนั้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงอุบายเครื่องยึดถือเอาซึ่ง
รัตนะเหล่านั้นว่า ก็กุลบุตรเหล่าใด ไม่ประมาท มีสติ เป็นบัณฑิต ประกอบ
พร้อมด้วยหิริโอตตัปปะและวิริยะเป็นต้น กุลบุตรเหล่านั้น ย่อมยึดไว้ได้ซึ่ง
สินค้า คือรัตนะเหล่านี้ ดังนี้ จึงตรัสว่า
กุลบุตรเหล่าใดไม่ประมาท ไม่มีตะปูเครื่องตรึง
ใจไว้ ประกอบด้วยหิริและวิริยะ กุลบุตรเหล่านั้น ๆ
ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งคุณธรรมอันประเสริฐเหล่านี้ตาม
สบาย.


แก้อรรถ


ในคาถานั้น ศัพท์ว่า เย เป็นอุเทศที่แสดงความไม่แน่นอน. บทว่า
อปฺปมตฺตา ได้แก่ ประกอบพร้อมแล้วด้วยความไม่ประมาท ซึ่งเป็นปฏิปักษ์

ต่อความประมาท อันมีลักษณะคือความไม่ปราศจากสติ. บทว่า อขิลา
ได้แก่ ปราศจากตะปูตรึงใจ 5 ประการ. บทว่า หิริวีริเยหุปาคตา ความว่า
ชื่อว่า หิริ เพราะละอายแต่ทุจริตมีกายทุจริตเป็นต้น คำนี้เป็นชื่อของความ
ละอาย. ความเป็นแห่งผู้กล้าหาญ ชื่อว่า วีริยะ. วีริยะนั้น มีลักษณะเป็น
ความขมักเขม้น ภัพพบุคคลทั้งหลายเข้าถึงแล้ว ประกอบพร้อมแล้วด้วยหิริ
และวีริยะเหล่านั้น. บทว่า เต นี้ เป็นอุเทศที่แสดงความแน่นอน แห่งอุเทศ
ที่แสดงความไม่แน่นอน ในบทก่อน. อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า เต ความว่า
กุลบุตรเหล่านั้นย่อมยึดไว้ได้ ย่อมได้ ย่อมประสบรัตนะวิเศษคือคุณดังกล่าว
แล้ว ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ ทรงทำความรู้แจ้งทางใจแล้ว ทรงลั่นธรรม
เภรีทรงสร้างธรรมนครไว้หมด จึงทรงยังสัตว์แสนโกฏิให้ตรัสรู้ก่อน โดยนัยว่า
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระศาสดาทรงยกมหาชนขึ้น ด้วยการประกอบ
นั้นอย่างนี้ จึงทรงยังสัตว์แสนโกฏิ ให้ตรัสรู้ก่อน.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทฺธรนฺโต ได้แก่ ทรงยกขึ้นจากสาคร
คือสังสารวัฏ ด้วยนาวาคืออริยมรรค. บทว่า โกฏิสตสหสฺสิโย แปลว่า
แสนโกฏิ. ทรงแสดงถ้อยคำ โดยปริยายที่แปลกออกไป.
ก็สมัยใด พระสุมนพุทธเจ้าผู้นำโลก ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ข่มความ
มัวเมาและมานะของเดียรถีย์ ณ โคนต้นมะม่วง กรุง สุนันทวดี ทรงยังสัตว์
พันโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม. สมัยนี้ เป็นธรรมาภิสมัยครั้งที่ 2 ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า